คลังเก็บ

All posts for the day พฤษภาคม 12th, 2012

บทบาทของครูในการประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอน

Published พฤษภาคม 12, 2012 by wanussanun

ชื่อเรื่อง  :  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน

ผู้แต่ง     :   บุปผชาติ  ทัฬหิกรณ์

ผู้จัดพิมพ์  :   โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ปีที่พิมพ์    :   2551

จำนวนหน้า :    144  หน้า

เลขเรียกหนังสือ  :  978-974-383-695-4

 

บทบาทของครูในการประยุกต์ไอซีทีในการเรียนการสอน

การนำไอซีทีมาใช้ในการศึกษา ทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากการเป็นผู้สอนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดมาเป็นผู้สร้าง  ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง  ส่งเสริมความสามารถในการใช้สารสนเทศ และปลูกฝังการทำงานและการปฏิบัติงานร่วมกันของนักเรียน  สิ่งเหล่านี้มีความเป็นไปได้เมื่อมีการใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน

ครูยุคใหม่

จะต้องเป็นครูที่

1.  เป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในการตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลและสารสนเทศ

2.  เปิดใจกว้างและวิพากษ์ความคิดอย่างมืออาชีพ

3.  ให้ความร่วมมืออย่างกระตือรือร้น และเป็นผู้ประสานงาน

4เป็นสื่อกลางระหว่างผู้เรียนกับสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้

                สมรรถนะใหม่ของครู

1.  ความสามารถในการสร้างสรรค์

2.  ความยืดหยุ่นในการเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้

3.  ตรรกะในการมอบหมายงาน  การเลือกแหล่งศึกษา  และการจัดกลุ่มนักเรียน

4.  ทักษะในการทำโครงงาน  ทักษะในการบริหารและจัดการ  ทักษะในการร่วมมือกัน

ทักษะไอซีทีใหม่

1.  ใช้คอมพิวเตอร์เป็นและซอฟแวร์พื้นฐานในการประมวลผลคำ ใช้ตารางคำนวณ อีเมล์ได้

2.  ประเมินค่าและใช้คอมพิวเตอร์รวมทั้งเครื่องมือไอซีทีที่เกี่ยวข้องสำหรับการเรียนการสอน

3.  ประยุกต์หลักการเรียนการสอน  การวิจัยที่ทันสมัย  และการประเมินที่เหมาะสมกับการใช้ไอซีที

4.  ประเมินคุณค่าของซอฟแวร์ที่ใช้ในการศึกษา

5.  สร้างการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิผล

6.  ค้นหาแหล่งทรัพยากรในอินเตอร์เน็ต

7.  บูรณาการเครื่องมือไอซีทีในกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในวิชาต่างๆ

8.  สร้างมัลติมีเดียสนับสนุนการเรียนการสอน

9.  สร้างเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์สนับสนุนการเรียนการสอน

10.  แสดงความรู้ด้านจริยธรรมและความเสมอภาคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

11.  ติดตามความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

 

ศัพท์ดรรชนี :  ครูยุคใหม่  สมรรถนะใหม่ของครู  ทักษะไอซีทีใหม่

ผู้เขียนสาระสังเขป : นางสาววนัสนันท์  ยศน้อย

 

มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

Published พฤษภาคม 12, 2012 by wanussanun

ชื่อเรื่อง  :  การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

ผู้แต่ง     :   ณัฐกร  สงคราม

ผู้จัดพิมพ์  :   ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์    :   2553

จำนวนหน้า :    163  หน้า

เลขเรียกหนังสือ  :  978-974-03-2662-5

 

มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

ความหมายของมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

“มัลติมีเดีย”  ที่หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ผสมผสานรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อก่อให้เกิดการรับรู้ที่หลากหลายต่อกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็นข้อความ ภาพ การได้ยินเสียง หรือแม้กระทั่งความสมารถในการโต้ตอบกับสื่อ ทำให้มัลติมีเดียถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย ทั้งในลักษณะสื่อประกอบการบรรยายของผู้สอนในชั้นเรียน และสื่อสำหรับผู้เรียนนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

“มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้”  นักการศึกษามักจะให้ความหมายว่า เป็นโปรแกรมมัลติมีเดียที่พัฒนาในรูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

ความสำคัญของมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนที่มีลักษณะการบูรณาการสื่อสารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ่งกว่าการบรรยายแบบปกติ มัลติมีเดียกลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในปัจจุบันและอนาคต ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนดังนี้

1.  สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ โดยการใช้เทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย สามารถดึงดูดและคงความสนใจของผู้เรียน ช่วยให้เกิดการจดจำ

2.  ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดี ขยาดสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมขึ้น

3.  มีการออกแบบการใช้งานที่ง่าย

4.  การได้โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน มีโอกาสเลือก ตัดสินใจและได้รับการเสริมแรงจากการได้ข้อมูลกลับทันที

5.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกความรับผิดชอบต่อตนเอง

6.  การที่สามารถทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ทันที เป็นการท้าทายผู้เรียนและเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ

7.  ประหยัดกำลังคน เวลา และงบประมาณ ทำให้ครูมีเวลามากขึ้นในการช่วยเหลือผู้เรียนที่ประสบปัญหา

8. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง ลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนในเมืองและชนบท

 

ศัพท์ดรรชนี :  มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

ผู้เขียนสาระสังเขป : นางสาววนัสนันท์  ยศน้อย

ลักษณะ และ ประโยชน์ของนวัตกรรมการเรียนการสอน

Published พฤษภาคม 12, 2012 by wanussanun

ชื่อเรื่อง  :  คู่มือ การจัดทำสื่อ นวัตกรรม และแผนฯ ประกอบสื่อนวัตกรรม

ผู้แต่ง     :   สำลี  รักสุทธี

ผู้จัดพิมพ์  :   สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา

ปีที่พิมพ์    :   2553

จำนวนหน้า :    180  หน้า

เลขเรียกหนังสือ  :  –

 

ลักษณะและประโยชน์ของนวัตกรรมการเรียนการสอน

ลักษณะของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ดี

นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.  มีลักษณะแปลกใหม่ ยังไม่เคยมีใครประดิษฐ์คิดค้นมาก่อน

2.  มีความทันสมัย และล้ำสมัย เพราะคิดค้นขึ้นมาใหม่

3.  มีคุณภาพ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามเป้าหมาย

4.  มีคุณค่าต่อวงการศึกษา

5.  สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

6.  จัดทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก

7.  ไม่ใช้วัสดุราคาแพง แต่ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

8.  มีความสะดวก ใช้ง่าย ไม่สลับซับซ้อน

9.  มีลักษณะคงทน

10.  สามารถจัดเก็บได้ง่าย

11.  มีลักษณะสอดคล้อง คือสอดคล้องกับเนื้อหาหรือเรื่องที่ต้องการแก้ไข

12.  เป็นสื่อมีชีวิต ไม่ตาย มีลักษณะเคลื่อนไหว กระตุ้นและเร้าความสนใจได้จริง

ประโยชน์ของนวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอนมีประโยชน์ดังนี้

1.  เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้ครูสอนเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น

2.  เป็นเครื่องช่วยร่นเวลาการสอนให้สั้นลง

3.  ช่วยให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น

4.  ช่วยทำเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม

5.  ช่วยทำเรื่องยากให้เป็นง่าย

6.  ช่วยกระตุ้น และเร้าความสนใจให้กับนักเรียนมากขึ้น

7.  ช่วยให้การเรียนเนื้อหาง่ายขึ้น

8.  นักเรียนประสบความสำเร็จจากการเรียนมากขึ้น

9.  ช่วยให้นักเรียนไม่เบื่อในการเรียน

10.  ช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน

11.  เป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาตนเองของครู

12.  เป็นเกราะกำบังตนเองของครูได้อย่างดี

13.  เป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของครูได้เป็นอย่างดี

 

ศัพท์ดรรชนี :  ลักษณะของนวัตกรรม ประโยชน์ของนวัตกรรม

ผู้เขียนสาระสังเขป : นางสาววนัสนันท์  ยศน้อย

 

นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน

Published พฤษภาคม 12, 2012 by wanussanun

ชื่อเรื่อง  :  นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน

ผู้แต่ง     :   สุคนธ์  สินธนานนท์

ผู้จัดพิมพ์  :   ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์    :   2551

จำนวนหน้า :    200 หน้า

เลขเรียกหนังสือ  :  978-974-10-6822-77

 

นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน

คุณลักษณะของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน

นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน ความมีคุณลักษณะซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.  เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนทั้งหมด เช่น วิธีสอนใหม่ ๆ สื่อการสอนใหม่

2.  เป็นสิ่งที่ใหม่เพียงบางส่วน เช่น มีการผลิตชุดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แต่ยังคงมีรูปแบบเดิมเป็นหลักอยู่

3.  เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่าจะมีประสิทธิภาพในการนำไปใช้มากน้อยเพียงไร

4.  เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย

5.  เป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุนต่อมาได้นำมาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพร่จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมได้

ประเภทของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน

                พิชิต  ฤทธิ์จรูญ (2550 : 3)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนว่า นวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจำนวนมากแต่สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้

1.  นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์

นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่

  • ชุดการเรียน / ชุดการสอน / ชุดการเรียนการสอน
  • แบบฝึกทักษะ / ชุดการฝึก / ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
  • บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม / บทเรียนโปรแกรม
  • เกม
  • การ์ตูน
  • นิทาน
  • เอกสารประกอบการเรียนรู้ / เอกสารประกอบการเรียนการสอน / เอกสารประกอบการสอน

2.  นวัตกรรมประเภทรูปแบบ / เทคนิค / วิธีการสอน

นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ที่นักการศึกษาได้คิดค้นเพื่อการพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก้ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ และเจตคติ ได้แก่

  • วิธีการสอนคิด
  • วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
  • CIPPA MODEL
  • วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
  • วิธีสอนตามแนวพุทธวิถี
  • วิธีสอนแบบบูรณาการ
  • วิธีสอนโครงงาน
  • วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
  • Constructivism

นอกจากนี้มีนวัตกรรมประเภทเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียน ด้านจิตพิสัย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 3-11)  สรุปว่าการพัฒนาจิตพิสัยในการเรียนการสอนที่จำเป็น ได้แก่ ความมีวินัย ความซื่อสัตย์  ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทย

 

ศัพท์ดรรชนี :  คุณลักษณะของนวัตกรรม ประเภทของนวัตกรรม

ผู้เขียนสาระสังเขป : นางสาววนัสนันท์  ยศน้อย